Step 1 : พูดคุยรายละเอียดงาน

นัดพูดคุยกับทางแพลตฟอร์มเพื่อคุยรายละเอียดงานหรือส่งรายละเอียดงานผ่านฟอร์ม
โทรปรึกษาฟรี 0815459423

Step 2 : ขอใบเสนอราคา และชำระเงิน

ตกลงจ้างงาน โดยขอใบเสนอราคากับทางแพลตฟอร์ม และชำระเงิน

Step 3 : แพลตฟอร์มส่งงาน

ทางแพลตฟอร์มจะส่งงานให้ผู้ว่าจ้างตรวจสอบและปรับแก้ไขได้ 3 ครั้ง หากไม่มีแก้ไขถือว่าการส่งมอบงานเสร็จสิ้น

คำแนะนำเพิ่มเติม

Supapongai เป็นแพลตฟอร์มทำเว็บไซต์โดยคุณศุภพงศ์ Web Developer มืออาชีพ ร่วมงานกับบริษัทชั้นนำมากมาย เช่น FutureSkill , Skillane , The Blacksmith และอื่นๆ มั่นใจ ปลอดภัย งานดีมีคุณภาพ พร้อมไลน์ให้คำปรึกษาตลอดการใช้งาน

ทำความรู้จัก Built-in Function ในภาษา Python ใน 5 นาที

ทำความรู้จัก Built-in Function ในภาษา Python ใน 5 นาที

สวัสดีครับนักอ่านทุกท่าน สำหรับนักอ่านท่านไหนที่เคยเขียนภาษา Python มาบ้างแล้ว มักจะเคยได้ยินกับคำว่า Built in function กันมาบ้างแล้วใช่ไหมครับ ซึ่งเจ้า Built in function เนี่ย ก็คือฟังก์ชันที่ติดตั้งหรือมีอยู่แล้วในภาษา Python นั่นเอง ซึ่งเราสามารถใช้ได้เลยโดยไม่ต้อง import library มา แต่ทุกท่านรู้ไหมครับว่า Built in function ในภาษา Python จริงๆแล้วมีอะไรให้เราได้ใช้บ้าง วันนี้ผมจะพานักอ่านทุกท่านมารู้จักกับ Built in function ยอดนิยมในภาษา Python กันครับ ว่าแล้วก็ไปอ่านกันเลย

1. pow

เริ่มกันง่ายๆก่อนเลยครับ Built in ที่ผมจะพามารู้จักตัวแรกก็คือ pow นั่นเองครับ ซึ่งเจ้า pow เนี่ย เป็น Built in function ที่รับ arguements 2 ตัว ครับ ได้แก่ ตัวแรก คือ ฐานของเลขยกกำลัง , ตัวที่สอง คือ เลขชี้กำลังนั่นเองครับ  

ตัวอย่างการใช้งาน

pow(2,5)

ผลลัพธ์การรัน

32

2. abs 

abs ย่อมาจาก absolute ก็คือ เครื่องหมาย | | (absolute) ในคณิตศาสตร์นั่นเอง เอาไว้ใช้ครอบตัวเลข ผลลัพธ์จะได้เป็นเลขตัวนั้นที่เป็นค่าบวกเท่านั้น 

ตัวอย่างการใช้งาน

abs(-10)

ผลลัพธ์การรัน

10

3. round

เป็นฟังก์ชันเอาไว้ปัดเศษของภาษา Python โดยจะรับ arguements 2 ตัว ครับ ได้แก่ ตัวแรกรับเป็นตัวเลขที่ต้องการปัดเศษ , ตัวที่สองรับเป็นจำนวนตำแหน่งทศนิยมที่ต้องการปัดเศษ

ตัวอย่างการใช้งาน

round(10.26,1)

ผลลัพธ์การรัน

10.3

4. bin 

เป็นฟังก์ชันเอาไว้เปลี่ยนเลขจำนวนเต็ม (int) เป็นเลขฐาน 2 ได้เลย 

ตัวอย่างการใช้งาน

x = bin(8) 
print(x)

ผลลัพธ์การรัน

0b1000

5. id 

เป็นฟังก์ชันเอาไว้หา address ของ value ที่จัดเก็บไว้ใน memory ที่ตัวแปรอ้างอิงถึง โดยตัวเลข address ที่ว่านี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่อง เพราะตำแหน่ง memory ที่ตัวแปรอ้างอิงถึงอาจไม่เหมือนกันได้ในแต่ละเครื่อง 

ตัวอย่างการใช้งาน

x = 10 
address_x = id(x)
print(address_x)

ผลลัพธ์การรัน

4512258688

6. sum

เป็นฟังก์ชันเอาไว้หาผลรวมของ List หรือ Numpy Array ได้ 

ตัวอย่างการใช้งาน

x = [1,2,3,4,5] 
print(sum(x))

ผลลัพธ์การรัน 

10

7. max

เป็นฟังก์ชันเอาไว้หาค่าสูงสุด หรือค่า max ของ List หรือ Numpy Array ได้ 

ตัวอย่างการใช้งาน

print(max([1,2,3,4,5]))

ผลลัพธ์การรัน 

5

8. min

เป็นฟังก์ชันเอาไว้หาค่าต่ำสุด หรือค่า min ของ List หรือ Numpy Array ได้ 

ตัวอย่างการใช้งาน

print(min([1,2,3,4,5]))

ผลลัพธ์การรัน 

1

9. sorted

เป็นฟังก์ชันเอาไว้เรียงลำดับของตัวเลข หรือ ตัวอักษรใน List หรือ Numpy Array สามารถเรียงลำดับ จากมากไปน้อย หรือ จากน้อยไปมากได้ โดยสามารถกำหนดผ่าน property ที่มีชื่อว่า reverse หากกำหนด

  • reverse = False จะเรียงลำดับจากน้อยไปมาก
  • reverse = True จะเรียงลำดับจากมากไปน้อย

แต่โดยค่า default แล้ว จะเรียงลำดับจากน้อยไปมาก

ตัวอย่างการใช้งาน (ไม่ใส่ reverse)

print(sorted([10,2,4,5]))

ผลลัพธ์การรัน 

[2, 4, 5, 10]

ตัวอย่างเรียงจากน้อยไปมาก (reverse = False)

print(sorted([10,2,6,5],reverse=False))

ผลลัพธ์การรัน

[2, 5, 6, 10]

ตัวอย่างเรียงจากน้อยไปมาก (reverse = True)

print(sorted([10,2,5,6],reverse=True))

ผลลัพธ์การรัน

[10, 6, 5, 2]

10. reversed

เป็นฟังก์ชันที่เอาไว้กลับด้าน List ผลลัพธ์จะ return เป็น object ถ้าต้องการเอาไปใช้งานให้แปลงเป็น List ก่อน

ตัวอย่างการใช้งาน

print(list(reversed([10,2,4,5])))

ผลลัพธ์การรัน 

[5, 4, 2, 10]

11. exec

เป็นฟังก์ชันที่รับ Python statement มาแล้วแปลงให้ทำงานได้ สามารถรับ Python statement แบบเป็น block ได้

ตัวอย่างการใช้งาน 

ex = """
print("Hello World Python Expression")
"""

exec(ex)

ผลลัพธ์การรัน

Hello World Python Expression

12. eval

เป็นฟังก์ชันที่รับ single expression ของ Python มาแปลงให้ทำงาน

ตัวอย่างการใช้งาน 

x = eval("abs(-20)+30")
print(x)

ผลลัพธ์การรัน

50

13. slice

slice เป็นฟังก์ชันที่เอาสร้าง slice object สำหรับตัด sequence หรือลำดับที่กำหนด สามารถใช้ตัด String ได้ slice จะรับ arguements 3 ตัว ได้แก่ ตัวเริ่ม (start) ,  ตัวจบ (stop), ตัวโดด (step)

ตัวอย่างการใช้งาน

x = "Hello World"
print(x[slice(0,6)])

ผลลัพธ์การรัน

Hello

14. help

เป็นฟังก์ชันที่เอาไว้ใช้อ่าน help หรือวิธีใช้งาน library ต่างๆหากเราไม่รู้วิธีใช้ โดยวิธีใช้ก็ง่ายๆ คือ help(ชื่อ library)

ตัวอย่างการใช้งาน

import math 
help(math)

15. replace 

เป็นฟังก์ชันที่ใช้ได้กับ String หรือข้อคความเท่านั้น สามารถแทนที่ String ใดๆ ด้วย String ตัวใหม่ได้ 

ตัวอย่างการใช้งาน

word = "HelloWorld"
print(word.replace("o","5"))

ผลลัพธ์การรัน

Hell5W5rld

16. lower

เป็นฟังก์ชันที่ใช้ได้กับ String หรือข้อความเท่านั้น สามารถทำให้ String ทุกตัวเป็นตัวพิมพ์เล็กได้ โดยมี Syntax การใช้งานว่า  ข้อความ.lower()

ตัวอย่างการใช้งาน

word = "HelloWorld"
print(word.lower())

ผลลัพธ์การรัน

helloworld

17. upper

เป็นฟังก์ชันที่ใช้ได้กับ String หรือข้อความเท่านั้น สามารถทำให้ String ทุกตัวเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ได้ โดยมี Syntax การใช้งานว่า  ข้อความ.upper()

ตัวอย่างการใช้งาน

word = "HelloWorld"
print(word.lower())

ผลลัพธ์การรัน

HELLOWORLD

18. swapcase

เป็นฟังก์ชันที่ใช้ได้กับ String หรือข้อความเท่านั้น สามารถทำให้ String ทุกตัวสลับจากตัวพิมพ์ใหญ่เป็นพิมพ์เล็ก และ จากตัวที่เป็นพิมพ์เล็กจะเป็นพิมพ์ใหญ่ โดยมี Syntax การใช้งานว่า  ข้อความ.swapcase()

ตัวอย่างการใช้งาน

word = "HelloWorld"
print(word.swapcase())

ผลลัพธ์การรัน

hELLOwORLD

19. isinstance()

เป็นฟังก์ชันที่เอาไว้เปรียบเทียบ type ของ arguement ตัวแรกที่ใส่เข้ามาในฟังก์ชัน กับ type ซึ่งก็คือ arguement ตัวที่ 2 ที่ใส่เข้ามาในฟังก์ชัน isinstance นั่นเอง

Syntax การใช้งาน

isinstance(ตัวที่ต้องการเปรียบเทียบ type , Data Type)

ตัวอย่างการใช้งาน

print( isinstance(2,int) )

ผลลัพธ์การรัน

True

20. len() 

ฟังก์ชัน len มีหน้าที่ง่ายๆเลยก็คือ มันจะ return จำนวนสมาชิกของ List , Numpy Array , tuple , set แล้วเราสามารถใช้กับการหาจำนวนตัวอักษรของข้อความ (String) ได้อีกด้วย

ตัวอย่างการใช้งาน

lis = [1,2,3,4,5,6,7,8,9,10] 
print("total number of lis : ",len(lis))
print("Hello length : ",len("Hello"))

ผลลัพธ์การรัน

total number of lis : 10
Hello length : 5

21. count 

เป็นฟังก์ชันที่เอาไว้นับสมาชิกใน List หรือ นับตัวอักษรที่ปรากฏในข้อความ (String) ก็ได้ 

ตัวอย่างการใช้งาน

s = "Hello World"
lis = [1,1,2,3,4,5]
print("total H : ",s.count("H"))
print("total 1 in lis : ",lis.count(1))

ผลลัพธ์การรัน

total H : 1
total 1 in lis : 2

22. index

เป็นฟังก์ชันที่ใช้หาตำแหน่งของสมาชิกที่อยู่ใน List หรือสามารถใช้หาตำแหน่งของ ตัวอักษร ที่อยู่ในข้อความ (String) ได้

ตัวอย่างการใช้งาน

lis = [10,20,100]word = "Hello World"

print("index of W : ",word.index("W"))
print("index of 100 in lis : ",lis.index(100))

ผลลัพธ์การรัน

index of W : 6
index of 100 in lis : 2

สรุป

สำหรับ Built in function ในภาษา Python ที่ผมยกตัวอย่างมาในวันนี้ทั้งหมด 20+2 ตัว เป็นตัวที่ค่อนข้างนิยมใช้กันบ่อย หากนักอ่านทุกท่านทำความเข้าใจและคุ้นเคยกับมันได้ดีแล้ว การใช้ฟังก์ชันพวกนี้จะช่วยลดโค้ดที่ต้องเขียนได้มากครับ สำหรับบทความนี้ผมก็ขอจบไว้แต่เพียงเท่านั้น ขอบคุณนักอ่านทุกท่านที่แวะเข้ามาอ่านเช่นเคย สำหรับวันนี้สวัสดีครับ

Reeferences

https://www.w3schools.com/python/python_ref_functions.asp

https://docs.python.org/3/library/functions.html

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการติดตามทางการตลาด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเพื่อการวิเคราะห์ และ นำเสนอโปรโมชัน สินค้า รวมถึงหลักสูตรฟรี และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ คุณสามารถเลือกปิดคุกกี้ประเภทนี้ได้โดยไม่ส่งผลต่อการทำงานหลัก เว้นแต่การนำเสนอโปรโมชันที่อาจไม่ตรงกับความต้องการ

บันทึก