Step 1 : พูดคุยรายละเอียดงาน

นัดพูดคุยกับทางแพลตฟอร์มเพื่อคุยรายละเอียดงานหรือส่งรายละเอียดงานผ่านฟอร์ม
โทรปรึกษาฟรี 0815459423

Step 2 : ขอใบเสนอราคา และชำระเงิน

ตกลงจ้างงาน โดยขอใบเสนอราคากับทางแพลตฟอร์ม และชำระเงิน

Step 3 : แพลตฟอร์มส่งงาน

ทางแพลตฟอร์มจะส่งงานให้ผู้ว่าจ้างตรวจสอบและปรับแก้ไขได้ 3 ครั้ง หากไม่มีแก้ไขถือว่าการส่งมอบงานเสร็จสิ้น

คำแนะนำเพิ่มเติม

Supapongai เป็นแพลตฟอร์มทำเว็บไซต์โดยคุณศุภพงศ์ Web Developer มืออาชีพ ร่วมงานกับบริษัทชั้นนำมากมาย เช่น FutureSkill , Skillane , The Blacksmith และอื่นๆ มั่นใจ ปลอดภัย งานดีมีคุณภาพ พร้อมไลน์ให้คำปรึกษาตลอดการใช้งาน

จ้างทำเว็บอย่างไร ให้ได้งานดี ไม่โดนโกง

ทำเว็บไซต์บริษัท รับทำเว็บไซต์ จ้างทำเว็บไซต์

ทำไมต้องจ้างทำเว็บไซต์ ปัจจุบันนี้ผู้คนที่ทำธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงมาก ขนาดที่บางธุรกิจไม่สามารถทำธุรกิจแบบออฟไลน์ได้อีกต่อไป แต่โชคยังดีที่ยุคนี้ยังมีแพลตฟอร์ม social media ต่างๆ ที่สามารถทำให้ผู้คนยังทำธุรกิจอยู่ได้บนโลกออนไลน์ ซึ่งหนึ่งในวิธีการทำธุรกิจที่ดีที่สุดก็คือการเปิดหน้าร้านเป็นของตัวเอง หรือก็คือเว็บไซต์นั่นเอง ทำให้การมีเว็บไซต์ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป

จ้างทำเว็บไซต์ต้องทำอย่างไร

จ้างทำเว็บไซต์ต้องทำอย่างไร คำถามนี้ทุกคนที่มาอ่านบทความนี้คงไม่มีประสบการณ์ในการจ้างงานทำเว็บไซต์มาก่อน ทุกคนคงต้องอยากรู้อยู่แล้วใช่ไหมครับว่าจ้างทำเว็บไซต์นั้นต้องทำอย่างไร ผมจะสรุปสั้นๆให้ทุกท่านฟังเป็นหัวข้อใหญ่ๆ 7 หัวข้อ นะครับ

  1. รวบรวมความต้องการของตัวเอง
  2. จัดหารูปกราฟิก หรือ รูป ที่ต้องใช้ในการทำเว็บไซต์
  3. หา developer หรือ นักพัฒนาเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ ติดต่อง่าย และจบงานให้เราได้
  4. ส่งรายละเอียดความต้องการของเราให้กับคนทำเว็บไซต์
  5. คนทำเว็บจัดทำเว็บจนเสร็จ
  6. เราตรวจงานและปรับแก้ตามสมควร
  7. ปิดงาน

โอเคครับ ผมมาเริ่มกันที่หัวข้อแรกกันก่อนเลยนะครับ

1. รวบรวมความต้องการในการทำเว็บ

สำหรับหัวข้อนี้นะครับก็ไม่มีอะไรมาก ทุกคนจะต้องถามตัวเองแล้วล่ะครับว่าในเว็บไซต์ที่จะทำ เราอยากได้ฟังก์ชันอะไรบ้าง มีกี่หน้า ประกอบด้วยรายละเอียดยังไงบ้าง ยกตัวอย่างนะครับ ถ้าคุณต้องการทำเว็บไซต์บริษัทที่เน้นการให้ข้อมูลบริการของบริษัทคุณ คุณก็ต้องคิดแล้วว่า อ๋อ เว็บฉันต้องมีประมาณ 5 หน้านะ ประกอบด้วย หน้าแรก มี banner อยู่ข้างบน รายละเอียดบริษัทคร่าวๆ ข้อมูลบริการของเราแบบคร่าวๆ และรีวิวลูกค้าบางส่วน พอกดดูบริการแบบเต็มๆ ก็จะต้องลิงค์ไปหน้าที่ 2 คือหน้าบริการของเรา และถ้าหากอยากจะติดต่อเรามา ห็ให้คลิกที่เมนูติดต่อเรา ให้ลิงค์ไปหน้าที่ 3 คือหน้าติดต่อเรา ถ้าอยากอ่านบทความก็ให้ไปหน้าที่ 4 คือหน้าบทความ และหน้าสุดท้ายหน้าที่ 5 ก็เป็นรายละเอียดประวัติบริษัท เป็นต้นครับ เมื่อทุกคนเตรียมข้อมูลพร้อมหมดแล้วก็ไปกันที่ข้อต่อไปกันได้เลยครับ

2. จัดหารูปกราฟิก หรือ รูป ที่ต้องใช้ในการทำเว็บไซต์

มาถึงข้อนี้บางคนจะสงสัยว่าเอ๊ะ ทำไมเราต้องจัดหารูปกราฟิก โลโก้ หรือรูปภาพไปให้ด้วยล่ะ ก็ในเมื่อคุณเป็นคนทำเว็บไซต์ไม่ใช่หรอ คุณก็ต้องทำรูปใส่ให้เราสิ คำตอบคือใช่ครับ ทุกคนต้องหารูปมาเอง ต้องมาทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า Web Developer ไม่ใช่ Graphic Designer ตำแหน่งนี้มีหน้าที่ต่างกันครับ โดยหลักๆแล้ว Web Developer จะเป็นคนออกแบบโครงสร้างการทำงานของเว็บไซต์ครับ เช่น ถ้าคุณต้องการเว็บขายของ เจ้า Web Developer คนนี้เนี่ย ก็จะทำหน้าที่ออกแบบฐานข้อมูล ระบบสต็อค รวมถึงการจัดวาง Layout ให้แสดงผลถูกต้องตามขนาดของอุปกรณ์ต่างๆ แต่ในส่วนของ Graphic Designer เนี่ย เขาจะเป็นคนที่ออกแบบรูปภาพต่างๆที่เราต้องใช้ในเว็บไซต์ให้เราครับ จะเห็นได้ว่าหน้าที่คนละอย่างกันเลย ถ้าทุกคนอยากรู้ว่าเจ้า 2 คนนี้เนี่ย มีหน้าที่ต่างกันอย่างไรแบบละเอียด ไว้บทความหน้าผมจะมาเล่าให้ฟังครับ โอเคครับเมื่อเราเตรียมรูปภาพเสร็จแล้วก็ไปที่ข้อต่อไปได้เลย

3. หา Developer หรือนคนทำเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ

ถ้าทุกคนลองมองหาคนทำเว็บไซต์สักคนนึงเนี่ย อย่างเช่นเว็บบริษัทเมื่อตะกี้ที่ผมพูดถึง เว็บแสดงข้อมูลทั่วไปที่มี 5 หน้าในข้อ 1 นะครับ ก็จะมีคนรับทำเว็บหลากหลายรูปแบบเลยครับ มีตั้งแต่ราคา 1500 , 3000 , 6000 , 8000 ไปจนถึง 25000 เลยก็มีครับ แต่คำถามคือแล้วเราจะรู้ได้ไงล่ะ ว่าควรจะจ้างใคร คำตอบง่ายมากครับ ผมจะให้เกณฑ์พิจารณาไว้ 2-3 ข้อครับ ดังนี้ครับ

  • ตอบแชทเร็ว บางคนอาจจะมองว่าทำไมต้องตอบเร็วด้วยล่ะ คำตอบง่ายมากครับ การตอบเร็วหมายถึงความเร็วในการ support งานที่ดีครับ ถ้าตอบช้า เว็บมีปัญหา ใครจะมาแก้ให้เราล่ะครับ นี่จึงเป็นสาเหตุแรกที่ผมให้พิจารณาครับ
  • การบริการ support หลังการขาย ต่อจากข้อที่แล้วเราพูดถึงการตอบเร็ว ทีนี้ให้เราถามเรื่องขอบเขตของการ support งานครับ ว่าเขา support ได้ถึงไหน MA ให้กี่เดือนหลังงานเสร็จ หรือ ไม่มี MA เลย (MA = Maintenance Service = การ Support หลังการขาย) ถ้าไม่ถามให้เคลียก่อน ทุกคนก็อาจจะเจอเว็บ 3 ล้อ ที่ทำไม่ถึงเดือนก็ใช้งานไม่ได้ซะแล้ว ก็ต้องทำใหม่ เสียเงินเสียเวลาบรีฟใหม่อีกรอบ เสียโอกาสการทำธุรกิจครับ ไม่แน่อาจได้ของดีแถมติดไม้ติดมือไปด้วยก็ได้
  • ราคาสมเหตุสมผลไหม ลองคิดดูนะครับ หากทุกคนอยากได้เว็บขายของแบบ Amazon ไม่ต้องถึงขั้น Amazon ก็ได้ครับ เอาแค่ขายของ ตัดสต็อค แจ้งชำระเงินแค่นี้เลยครับ แล้วมีเจ้านึงเสนอราคามาที่ 3000 บาท ดูแลตลอดชีพ ฟรีค่าโฮส โดเมน แต่แค่ค่าโฮสโดเมนก็ปาเข้าไป 1800 กว่าๆ ไหนจะค่าตีม ค่าทำเว็บต่างๆอีก ( โฮส = ที่เก็บไฟล์เว็บ , โดเมน = ชื่อเว็บที่ให้คนอื่นเข้าจาก google ได้)   ซึ่งไม่มีทางจะเป็นราคานี้ได้ พอจ้างทำไปเกิดปัญหาแน่นอน 100% ครับ ไม่ทิ้งงาน ก็ได้เว็บแถมไวรัสมาแน่ๆ เพราะใช้ตีมผิดลิขสิทธิ์ หรือ software ผิดกฏหมายต่างๆ
  • คุยแล้วเข้าใจความต้องการของเรา เรื่องนี้ตรงไปตรงมามากๆครับ ถ้าคุยแล้วคนทำเว็บคนนั้นเข้าใจสิ่งที่เราจะสื่อก็ย่อมเข้าใจความต้องการของเราและทำงานให้เราได้ตรงตามต้องการครับ
  • ความน่าเชื่อถือ ข้อนี้เป็นตัวเลือกไว้พิจารณาเพิ่มครับ ถ้าคนทำเว็บคนนั้นผ่านงานมาเยอะ รีวิวลูกค้าเยอะ มีประสบการณ์การทำงานมากๆ ก็ย่อมเป็นผลดีต่อการพัฒนาเว็บครับ เพราะเขาจะมองปัญหาออกด้วยประสบการณ์ที่มี

4. ส่งความต้องการให้คนทำเว็บ

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนคุยรายละเอียดครับ เราก็บอกความต้องการของเราให้กับคนทำเว็บทราบครับ ง่ายๆเลยใช่ไหมครับ แต่มันยากตรงที่เราจะบรีฟยังไงให้คนทำเว็บเข้าใจครับ ผมแนะนำให้ทุกคนเขียนลิสความต้องการออกมาให้ละเอียดที่สุดเท่าที่ละเอียดได้ลงในอะไรก็ได้ที่เป็นลายลักษณ์อักษรครับ และนี่จะเป็นเอกสาร requirement ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ได้พูดลอยๆ เวลาคนทำเว็บแก้งาน เขาจะดูตาม requirement ครับ ว่าทำได้ตรงไหม ไม่มีการพูดลอยๆแล้วอ้างว่าบรีฟแล้วนะ วันนั้นพี่พูดแล้วนะน้องจำไม่ได้หรอ หรือ เจอว่าฟังก์ชันนี้ผมไม่ทำนะไม่มีในใบเสนอราคา ปัญหาแบนนี้ก๋จะไม่เกิดครับ

5. จ่ายเงินมัดจำ และ เริ่มงาน

ในขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนง่ายๆครับ เมื่อเราตกลงคุยกันกับคนทำเว็บถูกคอกันแล้ว เข้าใจกันแล้ว พร้อมเริ่มงาน เราก็เตรียมข้อมูลที่พวกรูป ข้อมูลที่จะลงเว็บ ก็คือข้อ 1 กับ ข้อ 2 ที่ผ่านมานั่นแหละ ส่งให้คนทำเว็บ แล้วจ่ายเงินมัดจำ 50% ครับ หรือบางที่อาจจะ 30% 70% ก็ว่ากันไป แต่ถ้าผมรับงาน ผมจะให้ลูกค้ามัดจำ 50% ก่อนเริ่มงานครับ

6. ทำเว็บและแก้ไข

เมื่อเริ่มงานแล้ว คนทำเว็บอาจใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ ในการทำเว็บ ( แล้วแต่คนที่รับทำนะครับ) จนได้เว็บที่เสร็จ พร้อมส่งให้ลูกค้าดูเพื่อปรับแก้ โดยการปรับแก้จะปรับแก้ได้ตามข้อตกลงที่ตกลงกันไว้ตอนทำใบเสนอราคา ว่าแก้ได้กี่ครั้ง ถ้าแก้เกินคิดราคาเท่าไหร่ เป็นต้นครับ แต่โดยทั่วไปที่ผมรับงาน เว็บบริษัท 5 หน้า ทั่วไป ผมใช้เวลาทำ 2-3 สัปดาห์ เว็บเสร็จส่ง demo ให้ลูกค้าดูได้ผ่านลิงค์เว็บทดสอบของผม และใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ปรับแก้ไขงานจนเสร็จตามบรีฟลูกค้าครับ 

7. ส่งมอบงาน

ขั้นตอนนี้ก็จะเป็นการนำเว็บที่เสร็จแล้วส่งมอบให้ลูกค้า deploy ขึ้นเว็บจริงครับ และตอนนี้ลูกค้าก็โอนเงินที่เหลือค้างจากค่ามัดจำมาให้คนทำเว็บ ก็จะเป็นการปิดงานกันไป ที่เหลือก็จะเป็นการ support กันตามระยะเวลาที่รับประกันไว้ครับ ถ้าทำดี ถูกคอ ก็อาจจะได้ใช้บริการเป็นลูกค้าประจำกันต่อยาวๆกันไปครับ ซึ่งบางเจ้าที่ทำกับผมก็ทำกันยาวๆมามากกว่า 3 ปีแล้วก็มีครับ

สรุป

สุดท้ายนี้จะเลือกใครให้ทำเว็บไซต์ให้กับเรา ก็สุดแล้วแต่เราจะเลือกครับ แต่ถ้าใช้ตัวชี้วัดด้านบนเลือกคนทำเว็บ ก็จะทำให้ได้คนทำเว็บที่เข้าใจความต้องการของเรา และปิดงานได้อย่างมีความสุขครับ แต่ถ้าทุกคนไม่รู้จะเลือกใครทำเว็บไซต์ให้ ลองติดต่อผมมาดูสิครับ ปรึกษาฟรี ไม่คิดค่าใช้จ่าย

ติดต่อทำเว็บ 0815459423

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการติดตามทางการตลาด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเพื่อการวิเคราะห์ และ นำเสนอโปรโมชัน สินค้า รวมถึงหลักสูตรฟรี และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ คุณสามารถเลือกปิดคุกกี้ประเภทนี้ได้โดยไม่ส่งผลต่อการทำงานหลัก เว้นแต่การนำเสนอโปรโมชันที่อาจไม่ตรงกับความต้องการ

บันทึก